กระทรวงวิทย์ฯ แห่งประเทศไทย ออกมาประกาศ “10 เรื่องดาราศาสตร์ในปี 2562” ซึ่งมีความน่าตื่นเต้นและน่าตื่นตาเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเรื่องโดดเด่น คือ ครบรอบเหตุการณ์การค้นพบสำคัญทางดาราศาสตร์ ซึ่งคนรักวิทยาศาสตร์จะต้องตื่นตะลึง
10 เรื่องดาราศาสตร์ ในปี 2562 น่ารู้
1. ครบรอบ 50 ปี ยาน Apollo 11
เป็นยานที่นำมนุษย์เหยียบบนดวงจันทร์เป็นครั้งแรก และจากภารกิจนี้เองก่อให้เกิดความก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดดทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจนมากระทั่งถึงปัจจุบันนี้
วันที่ 21 กรกฎาคม
2. ครบรอบ 100 ปี สุริยุปราคาเต็มดวง
อีกทั้งยังเป็นการครบรอบ พิสูจน์ทฤษฎีสัมพันธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ได้อีกด้วย ซึ่งการพิสูจน์ก็ส่งผลทำให้มุมมองของมนุษย์ซึ่งมีต่อเอกภพเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่มีวันหวนกลับ
วันที่ 29 พฤษภาคม
3. สร้างหอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์วิทยุแห่งชาติ
มีการติดตั้ง “กล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติ” ขนาดใหญ่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งโครงสร้าง พื้นฐานทางดาราศาสตร์ของประเทศไทย สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายร่วมกับกล้องโทรทรรศน์วิทยุนานาชาติ เพื่อยกระดับการพัฒนางานวิจัยระดับโลก
4 . เตรียมสร้างดาวเทียมวิจัยของคนไทย
ด้วยการผสมผสานพลังอันยิ่งใหญ่ของ 3 สถาบัน ได้แก่….
• สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
• สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)
• สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)
ด้วยจุดประสงค์อันแรงกล้าในการใช้ดาราศาสตร์ มาสร้างเทคโนโลยีรวมทั้งนวัตกรรมใหม่ๆ ให้เป็นก้าวแรกในการพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมอวกาศและดาวเทียมของประเทศไทยอย่างเป็นทางการและภาคภูมิ
5. เปิด หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา
ซึ่งเป็นหอดูดาวสำหรับประชาชนแบบเต็มรูปแบบ แห่งที่ 3 ของประเทศไทย โดยมีจุดประสงค์เพื่อนำมาใช้กับวิชาดาราศาสตร์ พร้อมสนับสนุนงานวิจัยดาราศาสตร์สำหรับนักเรียน รวมทั้งจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้ดาราศาสตร์ของมุสลิมแบบครบวงจร
วันที่ 25 กรกฎาคม
6. จันทรุปราคา
ปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วน สามารถรับชมได้จากทุกแห่งของไทย เวลา 01:44 – 06:00 น. / ปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วนครั้งที่ 2 สามารถรับชมได้ทุกภูมิภาคของไทย เวลา 10:18 – 13:57 น. โดยส่วนที่ดวงอาทิตย์ถูกบังมากสุด คือ บริเวณภาคใต้ ณ อำเภอเบตง ครอบคลุม 81 % ของจังหวัด
• จันทรุปราคาบางส่วน วันที่ 17 กรกฎาคม
• สุริยุปราคาบางส่วนครั้ง 2 วันที่ 26 ธันวาคม
7. ดวงจันทร์เต็มดวงในรอบปี
ดวงจันทร์เต็มดวงอยู่ใกล้โลกที่สุดในรอบปี หรือ ‘Super Full Moon’ และดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี หรือ Micro Full Moon
• Super Full Moon วันที่ 19 กุมภาพันธ์
• Micro Full Moon วันที่ 14 กันยายน
8. ดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ใกล้โลก
สามารถสังเกตการณ์ได้อย่างยาวนานตลอดคืน เริ่มตั้งแต่อาทิตย์ตกไปจนถึงเช้า
• ดาวพฤหัสบดีใกล้โลก วันที่ 10 มิถุนายน
• ดาวเสาร์ใกล้โลก วันที่ 9 กรกฎาคม
9. ฝนดาวตกอันสุดอลังการ
ฝนดาวตกมีให้ชมตลอดทั้งปี แต่กลุ่มน่าสนใจ คือ ฝนดาวตกควอดรานติดส์ เฉลี่ย 120 ดวง/ชั่วโมง , ฝนดาวตกอีต้า-อควอริดส์ เฉลี่ย 50 ดวง/ชั่วโมง และ ฝนดาวตกเดลต้า-อควอริดส์ เฉลี่ย 25 ดวง/ชั่วโมง เก็บให้ครบ 3 กลุ่มไปเลย
• ฝนดาวตกควอดรานติดส์ วันที่ 3-4 มีนาคม
• ฝนดาวตกอีต้า-อควอริดส์ วันที่ 6-7 พฤษภาคม
• ฝนดาวตกเดลต้า-อควอริดส์ วันที่ 30-31 กรกฎาคม
10. ดาวเสาร์เคียงดาวพฤหัสบดี
โดยดาวเสาร์และดาวพฤหัสบดีเริ่มขยับเข้าหากัน ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2561 แล้ว และจะเข้าใกล้กันมากสุด มีระยะห่างเพียง 0.1 องศาเท่านั้น ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 397 ปี
วันที่ 21 ธันวาคม 2563
ซึ่งเมื่อย้อนหลังกลับไปคุณจะพบว่า การพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์ พัฒนาบุคลากร รวมทั้งการสร้างความตระหนักและความตื่นตัวทางดาราศาสตร์ เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะนอกจากจะทำให้ชีวิตของมนุษย์ก้าวหน้าขึ้นแล้ว ยังทำให้เราใกล้หาคำตอบอันน่าพิศวงของเอกภพได้มากขึ้นทุกที