Moon-jelly-stone

สำรวจศึกษาวิจัย หินวุ้น ที่อยู่บนดวงจันทร์

ย้อนกลับไปในเดือนมกราคมจีนทำอะไรที่ไม่เคยทำมาก่อน พวกเขาส่งยานสำรวจลงจอดบนด้านมืดของดวงจันทร์ และตอนนี้พวกเขาก็ค้นพบวัสดุที่น่าสนใจ ตามรายงานที่ออกมาจาก National Geographic ภารกิจทางบนดวงจันทร์ของจีนได้ให้สัญญาณแรกของความคืบหน้าบนดวงจันทร์ ว่าพวกเขาพบกับสิ่งที่คุ้มค่ากับการศึกษาวิจัย ที่จะทำให้เราได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับดวงจันทร์ของเรามากกว่าที่เราเคยมีมาก่อน รายงานใหม่ยังเปิดเผยว่ายานสำรวจคู่หูของ Changer e-4 Lander ของจีนใช้การแผ่รังสีสะท้อนเพื่อวิเคราะห์แร่ธาตุภายในพื้นที่ลงจอด ซึ่งอยู่ภายในปล่องภูเขาไฟ Von Kármán บนดวงจันทร์ ทำให้ตรวจชั้นของพื้นผิวที่อุดมไปด้วยแร่หลากหลายชนิด และมีสองชนิดที่ไม่ตรงกับพื้นผิวของดวงจันทร์

ความจริงก็คือเรายังไม่ทราบว่ามีอะไรมากมายเกี่ยวกับดวงจันทร์ของเราเอง หรือแม้แต่การก่อตัวขึ้นอย่างได้อย่างไร ที่ผ่านมาประเทศต่างๆ ได้ส่งยานไปปฏิบัติภารกิจบนดวงจันทร์ ย้อนกลับไปในยุค 60 – 70 และจากนั้นโครงการอวกาศก็ทิ้งมันไปในช่วงทศวรรษต่อๆ ไป แต่มันอาจถึงเวลาแล้วที่จะมนุษย์จะกลับไปเยือนดวงจันทร์อีกครั้ง เพราะไม่แน่มันอาจซ่อนความลับที่เราหลายคนอาจไม่เคยคิดมาก่อน ด้วยการค้นพบนี้ของประเทศจีนซึ่งมันจะเป็นแรงผลักดันให้กับการศึกษาพื้นผิวดวงจันทร์ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า หลายประเทศจะเริ่มกลับมาให้ความสนใจมันมากขึ้น ไม่แพ้กับการตามล่าหาแหล่งน้ำบนดาวอังคารเลย

หนทางสู่การกลับไปเยือนดวงจันทร์ของมนุษย์

เมื่อห้าสิบปีก่อนเมื่ออพอลโล 11 ปล่อยตัวขึ้นจากดวงจันทร์เพื่อกลับสู่โลก นีลอาร์ม สตรอง และ บัซ อัลดริน ซึ่งภายในยานบรรทุกหินกลับมาด้วยเป็นน้ำหนัก 22 กิโลกรัม ก่อนที่พวกเขาจะเริ่มโครงการอพอลโลในอีก 3 ปี ข้างหน้าที่กลับมาพร้อมกับหิน 382 กิโลกรัม นับตั้งแต่นั้นมาก็ไม่เคยมีใครได้กลับไปเยือนที่ดวงจันทร์อีกเลย และอีกตัวอย่างเดียวที่นำกลับมาเป็นวัสดุน้ำหนัก 301 กรัมที่รวบรวมได้ในปี 1970 โดยภารกิจสามอย่างของโซเวียตที่เรียกว่า Luna 16, Luna 20 และ Luna 24

อย่างไรก็ตามต้นปีหน้าจีนมีแนวโน้มที่จะเป็นคนแรกที่เติมเต็มช่องว่างนี้ผ่านภารกิจของหุ่นยนต์ที่ออกแบบมาเพื่อขึ้นฝั่งบน Mons Rümker ซึ่งเป็นภูเขาไฟที่แผ่ขยายไปทั่ว เชื่อกันว่ามีหินภูเขาไฟที่อายุน้อยที่สุดของดวงจันทร์ฝังตัวอยู่ในพื้นผิว ภารกิจนี้เรียกว่า Chang’e 5 (CE-5) เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรม Chang’e ของจีนซึ่งได้รับการตั้งชื่อตามเทพธิดาจีนโบราณแห่งดวงจันทร์ ในปี 2018 และต้นปี 2019 CE-4 และภารกิจน้องสาวที่ชื่อว่า Queqiao จอดรถแลนด์โรเวอร์อยู่อีกฝั่งของดวงจันทร์ ซึ่งอยู่ในรัศมีของดาวเทียมสื่อสารในวงโคจรของดวงจันทร์ มันสามารถถ่ายทอดการสื่อสารจากยานสำรวจกลับไปโลกได้ (สัญญาณวิทยุไม่สามารถพุ่งตรงกลับไปยังโลกได้)

ภารกิจที่จะเกิดขึ้นซึ่งมีกำหนดในปี 2020 มีวัตถุประสงค์เพื่อนำตัวอย่างที่สองกลับมา โดยชิ้นนี้เป็นตัวอย่างจากพื้นที่ขั้วโลกใต้ของดวงจันทร์ และเพื่อเป็นการฝึกฝนเทคนิคการพิมพ์ 3 มิติบนดวงจันทร์ด้วยความหวังว่าพวกจะถูกนำมาใช้ในการช่วยสร้างสถานีวิจัยหุ่นยนต์ อย่างไรก็ตามภารกิจนี้ค่อนข้างมีความเสี่ยงสูง เพราะอีกด้านของดวงจันทร์ค่อนข้างมีความแตกต่างอย่างมากในด้านธรณีวิทยา แถมการติดต่อสื่อสารก็ยังทำได้อย่างยากลำบาก ตัวอย่างที่ศึกษาส่วนใหญ่มาจากเพียงด้านหนึ่งของดวงจันทร์ การได้ชิ้นส่วนตัวอย่างจากอีกด้านหนึ่ง จะช่วยให้สามารถรู้ได้ถึงส่วนประกอบอย่างแน่นอนของมัน ช่วยให้เราได้รู้ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร