GJ3512b-news-site

รู้หรือไม่! นักดาราศาสตร์พบดาวเคราะห์ที่ในทางทฤษฎี ‘ไม่ควรมีอยู่’

การค้นพบครั้งใหญ่ ทีมนักดาราศาสตร์สุดเก่งจากประเทศสเปนและเยอรมนี ได้มีการค้นพบดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ ซึ่งอยู่นอกระบบสุริยะจักรวาล โดยพวกเขาตั้งชื่อว่า ‘GJ 3512b’ สำหรับดาวเคราะห์ดวงนี้ อยู่ห่างไกลจากโลก 284 ล้านล้านกิโลเมตร

ดาวเคราะห์ลึกลับ ที่ไม่ควรมีอยู่ แล้วมาจากไหนล่ะ ?

โดยนักวิทยาศาสตร์ ได้กล่าวว่าแท้จริงแล้วดาวดวงนี้ไม่ควรมีอยู่ ซึ่งการค้นพบนี้ทำให้พวกเขาต้องกลับมาทบทวนทฤษฎีในเรื่องของการก่อกำเนินของดาวเคราะห์ ที่กำลังใช้อยู่ ณ ปัจจุบันอีกครั้ง เพราะอาจช่วยทำให้มนุษย์มีความเข้าใจ ในเรื่องของการก่อตัวของดาวเคราะห์มากยิ่งขึ้นอีกด้วย

เหตุใด ‘GJ 3512b’ ถึงไม่ควรมีอยู่ ?

สำหรับการค้นพบดาวเคราะห์ GJ 3512b นี้ เผยแพร่ออกมาเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2562 โดยสิ่งที่สร้างความสับสนให้แก่เหล่านักดาราศาสตร์ ก็คือ ขนาดที่มีขนาดใหญ่มากเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับขนาดของดาวฤกษ์ ที่มันกำลังโคจรรอบอยู่ โดย ‘GJ 3512b’ มีมวลประมาณครึ่งหนึ่งของดาวพฤหัสบดีเท่านั้น ทางด้านดาวฤกษ์แคระของดาวดวงนี้ ก็มีมวลเพียง 1 ใน 5 ของดวงอาทิตย์ของโลกเท่านั้น และมีความสว่างน้อยกว่าถึง 50 เท่าเลยทีเดียว

คำถามสำคัญ ‘GJ 3512b’ เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

เพราะนี่เป็นครั้งแรกที่มีการค้นพบดาวเคราะห์ อยู่นอกระบบสุริยะซึ่งไม่อาจอธิบายการเกิดได้ด้วยทฤษฎี ‘การสะสมแกนกลาง’ และดาวดวงนี้ก็เป็นเครื่องพิสูจน์แล้วว่า ทฤษฎีการกำเนินดาวเคราะห์ ‘Gravitational instability’ อาจเข้ามามีบทบาทสำคัญในการก่อตัวของดาวเคราะห์ขนาดใหญ่

หากแต่อย่างไรก็ตาม นักดาราศาสตร์มีการคาดการณ์พร้อมวิเคราะห์ว่า เมื่ออ้างอิงจากความไม่เสถียรของแรงโน้มถ่วงจะทำให้เกิดขึ้น ในส่วนของพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลจากดาวฤกษ์ ส่งผลให้ดาวเคราะห์ที่เกิดขึ้นอยู่นั้นมีความห่างตามกันไปด้วย หากอย่างไรก็ตามทีมวิจัยกลับพบว่า ‘GJ 3512b’ ได้มีการเคลื่อนตัวเข้าใกล้ดาวฤกษ์ จนอยู่ห่างไม่ถึง 150 ล้านกิโลเมตร หรือมีระยะเท่ากับระยะของโลกกับดวงอาทิตย์ หากแต่การเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ก็ทำให้เกิดคำถามตามมาอีกว่า แล้วทำไมดาวเคราะห์ดวงนี้ถึงไม่ขยายตัวต่อไป หากแต่มีการเปลี่ยนขยับเข้าใกล้ดาวฤกษ์แทน ซึ่งยิ่งเจาะลึกลงไปมากเท่าไหร่ ก็ยังทำให้เกิดความสงสัยมากเท่านั้น

และการโคจรของดาวเคราะห์ ‘GJ 3512b’ นั้นก็มีความแปลกประหลาดมาก เพราะดาวดวงนี้ใช้เวลาโคจรรอบดาวฤกษ์แคระของตัวเอง 204 วัน โดยในบางช่วงก็จะมีความน่าสนใจ เพราะมีการเคลื่อนไหวเข้าใกล้ดาวฤกษ์มากกว่า ตามระยะห่างระหว่างดาวพุธกับดาวอาทิตย์เสียอีก จากปัจจัยหลายๆ อย่างเหล่านี้ จึงเป็นสิ่งแสดงให้เห็นว่า มีดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ดวงอื่นๆ โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงนี้ภายในระยะห่างออกไปอีก จึงส่งผลให้วงโคจรของ ‘GJ 3512b’ เกิดการเปลี่ยนรูปไปนั่นเอง

ถึงคราวรื้นฟื้นองค์ความรู้เก่า ทฤษฎีการกำเนิดดาวเคราะห์ใหม่ แล้วหรือยัง ?

โดยหนึ่งในสมาชิกจากสถาบันดาราศาสตร์ในเยอรมนี ซึ่งเป็นผู้เขียนอีกคนของรายงานการค้นพบอันน่าฉงนนี้ ได้กล่าวเอาไว้ว่า ‘จนถึงตอนนี้ดาวเคราะห์ที่ผ่านกระบวนทฤษฎี ความไม่เสถียรของแรงโน้มถ่วง ได้คือ ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่, ดาวเคราะห์ร้อน และดาวอายุน้อย ซึ่งอยู่ห่างจากดาวฤกษ์มากๆ มีจำนวนน้อยมากแบบสุดๆ เพราะฉะนั้นด้วยการค้นพบ ‘GJ 3512b’ ณ ตอนนี้จึงทำให้โลกมีการค้นพบเรียกได้ว่าไม่ธรรมดาที่มาจากดาวเคราะห์ ซึ่งอาจทำให้เกิดจากความไม่เสถียรของดิสก์รอบๆ ดาวฤกษ์ซึ่งมีมวลต่ำมาก จึงทำให้เหล่านักวิทยาศาสตร์ ต้องหันกลับมาทบทวนหลักการในการทำนาย ในการกำเนิดดาวเคราะห์ของเรากันใหม่เสียแล้ว’